การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

หมวด 14 ของเหลวไวไฟมาก (รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำ หรือไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำ)

LIQUIDS-HIGHLY FLAMMABLE (MISCIBLE-IMISCIBLE)

       อัคคีภัยหรือการระเบิด

- จะลุกติดไฟได้เมื่อได้รับความร้อน ประกายไฟ หรือเปลวไฟ
- เมื่อผสมกับอากาศเกิดส่วนผสมที่ระเบิดได้
- ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปยังแหล่งที่ทำให้เกิดการติดไฟ และลุกติดไฟย้อนกลับไปยังต้นกำเนิดได้
- ไอระเหยส่วนมากจะหนักกว่าอากาศและกระจายไปตามพื้น และสะสมอยู่บนที่ต่ำๆหรือบรเวณที่อับอากาศ (ท่อระบาย ชั้นใต้ดิน หรือถังเก็บ)
- ของเหลวหลายชนิดจะมีคุณสมบัติเบากว่าน้ำ
- สารบางตัวอาจสลายตัว หรือเกิดสารพอลิเมอร์ เมื่อได้รับความร้อนหรือเกิดเพลิงไหม้
- ภาชนะบรรจุอาจระเบิดเมื่อได้รับความร้อน
- ไอระเหยจากน้ำชะล้างอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ทั้งภายในอาคาร ภายนอกอาคารและในท่อระบายน้ำ

       สุขภาพอนามัย

- การหายใจหรือสัมผัสกับสารอาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือแผลไหม้ผิวหนังและตา
- เมื่อสารนี้ไหม้ไฟจะทำให้เกิดก๊าซระคายเคือง กัดกร่อน และหรือเป็นพิษ
- น้ำชะล้างที่เกิดจากการดับเพลิงจะทำให้เกิดปัญาหาน้ำเสีย

อันตรายที่อาจเกิดขึ้น

อัคคีภัย

- กรณีเพลิงไหม้เล็กน้อย : ใช้ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์
- กรณีเพลิงไหม้รุนแรง : ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย แอลกอฮอล์โฟม
   
                               : ห้ามใช้น้ำฉีดไปยังบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้โดยตรง
                                  : ถ้าไม่เสี่ยงที่จะได้รับอันตราย ให้เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุหรือ
                                     หีบห่อที่ยังไม่เสียหายจากการไหม้ไฟออกจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้
- กรณีเพลิงไหม้ถังเก็บหรือรถขนส่ง
   
                               : ให้ดับเพลิงในระยะไกลที่สุดหรือใช้สายฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนถือ
                                     หรือหัวฉีดที่มีระบบควบคุม ถ้าดับไม่ได้ให้ออกจากพื้นที่และปล่อยให้
                                     เพลิงไหม้ต่อไป
   
                               : ใช้น้ำเป็นปริมาณมาก ๆ ฉีดหล่อเย็นภาชนะบรรจุสาร หลังจากที่ไฟดับแล้ว
   
                               : ถ้าได้ยินเสียงจากอุปกรณ์นิรภัยระบายไอ หรือเมื่อภาชนะบรรจ
   
                                 เปลี่ยนสีให้ออกไปจากบริเวณนั้นทันที
   
                               : ห้ามยืนอยู่บริเวณหัวท้ายของท่อหรือภาชนะบรรจุการหกหรือรั่วไหล
- กำจัดแหล่งที่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ (การสูบบุหรี่ ประกายไฟ หรือเปลวไฟ)
- อุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดต้องมีการต่อสายดิน
- ห้ามแตะต้องหรือเดินย่ำไปบนบริเวณที่มีการหกรั่วไหล
- หยุดการรั่วไหล ถ้าไม่เสี่ยงที่จะได้รับอันตราย
- ป้องกันการไหลลงสู่แหล่งน้ำ ท่อระบายน้ำ ชั้นใต้ดิน หรือบริเวณที่อับอากาศ
- ดูดซับสารที่หกรั่วไหลด้วย ดิน ทราย หรือสารดูดซับอื่นที่ไม่ติดไฟ และเก็บลงไว้ในภาชนะบรรจุ
- ให้ใช้เครื่องมือที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ เพื่อรวบรวมสารที่ดูดซับ และเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกที่มีฝาปิด เพื่อนำไปกำจัดต่อไป
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดไอระเหย หรือทำให้ไอไม่กระจายตัว
- อย่าให้น้ำเข้าไปในภาชนะโดยเด็ดขาด

การปฐมพยาบาล

- นำผู้ประสบอันตรายไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์
- ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าผู้ประสบอันตรายหยุดหายใจ
- ถ้าหายใจลำบาก ให้ออกซิเจนช่วย
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออกทันที ในกรณีที่สัมผัสกับสารให้ล้างออกด้วยน้ำ หรือเมื่อสารเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำที่ไหลผ่านอย่างน้อย 15 นาที
- รักษาร่างกายของผู้ประสบอันตรายให้อบอุ่น และนำส่งแพทย์
- ผู้ปฐมพยาบาลต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสาร และต้องรู้จักระมัดระวังตัวเอง

ความปลอดภัยต่อสาธารณะ

- ให้กั้นแยกบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหลโดยทันที อย่างน้อย 25-50 เมตรโดยรอบ
- ให้อยู่เหนือลม
- ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากบริเวณนี้
- อย่าอยู่ในที่ต่ำ
- ให้ระบายอากาศในบริเวณที่อับอากาศก่อนจึงเข้าไปในบริเวณดังกล่าวชุดป้องกันอันตราย
- ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดที่มีถังอัดอากาศในตัว และชุดป้องกันไอระเหยปิดมิดชิดทั้งตัว
- ชุดผจญเพลิงไม่เหมาะสมที่จะใช้ป้องกันอันตรายจากสารนี้

การอพยพ

- กรณีที่หกรั่วไหลมาก : อันดับแรกให้อพยพผู้คนที่อยู่ใต้ลมออกไป อย่างน้อย 300 เมตร
- กรณีเกิดอัคคีภัย : เมื่อเกิดเพลิงไหม้ภาชนะบรรจุขนาดใหญ่ (รวมทั้งภาชนะขนส่งโดยรถยนต์) ในขั้นต้นให้อพยพผู้คนห่างออกไปในระยะ 1000 เมตรโดยรอบ

ข้อควรระวัง : สารเหล่านี้จะมีจุดวาบไฟต่ำมาก การใช้น้ำฉีดเป็นฝอยในการดับเพลิงอาจไม่เพียงพอ