การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

            หมวด 26 สารที่ทำปฏิกิริยาว่องไวกับน้ำ

                                SUBSTANCES-WATER REACTIVE (EVOLVING FLAMMABLE GASES)

        อัคคีภัยหรือการระเบิด

- เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดสารที่ไวไฟ

- เมื่อสัมผัสกับน้ำหรืออากาศชื้นอาจลุกติดไฟ

- สารบางตัวทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงหรือเกิดการระเบิดได้เมื่อสัมผัสกับน้ำ

- สามารถลุกติดไฟได้เมื่อถูกความร้อน ประกายไฟ หรือเปลวไฟ

- อาจลุกติดไฟได้อีกหลังจากเพลิงดับแล้ว

- สารนี้บางชนิดอาจต้องขนส่งในลักษณะของเหลวที่ไวไฟมาก

- ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน

- น้ำชะล้างอาจก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้หรือระเบิด

        สุขภาพอนามัย

- การหายใจหรือสัมผัสกับไอระเหยของสารตัวนี้หรือสารที่เกิดจากการสลายตัวอาจเป็นสาเหตุทำให้บาดเจ็บหรือตายได้

- เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดก๊าซที่เป็นพิษและหรือสารละลายที่กัดกร่อนได้

- เมื่อสารนี้ไหม้ไฟจะทำให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และหรือเป็นพิษ

- น้ำชะล้างอาจก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียได้

        อันตรายที่อาจเกิดขึ้น

        อัคคีภัย

- ห้ามใช้น้ำหรือโฟมในการดับเพลิง

- กรณีเพลิงไหม้เล็กน้อย : ใช้ผงเคมีแห้ง โซดาแอซ ปูนขาวหรือทราย

                                    : ถ้าไม่เสียงที่จะได้รับอันตรายให้เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อที่ยังไม่เสียหายออกจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ จากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้

- กรณีเพลิงไหม้รุนแรง   : ใช้ทรายแห้ง , ผงเคมีแห้ง, โซดาแอซ หรือปูนขาว หรือให้ออกจาก พื้นที่และปล่อยให้เพลิงไหม้ต่อไป

- เพลิงไหม้ที่เกิดจากแมกนีเซียม : ใช้ทรายแห้ง ผงกราไฟท์ หรือ Met-L-Xr powder

- เพลิงไหม้ที่เกิดจากลิเธียม : ใช้ทรายแห้ง ผงกราไฟท์ หรือ Lith-Xr powder

- กรณีเพลิงไหม้ถังเก็บหรือรถขนส่ง

                                 : ให้ดับเพลิงในระยะไกลที่สุดหรือใช้สายฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม

                                 : หล่อเย็นภาชนะบรรจุด้วยน้ำปริมาณมากหลังจากไฟดับ แล้วอย่าให้น้ำเข้าไปในภาชนะบรรจุหรือไปสัมผัสกับสารนั้น

                                 : ถ้าได้ยินเสียงจากอุปกรณืนิรภัยระบายไอ หรือภาชนะ บรรจุเปลี่ยนสีให้ออกจากบริเวณนั้นทันที

                                 : ห้ามยืนหัวท้ายของท่อหรือภาชนะบรรจุ 

        การหกหรือรั่วไหล

- กำจัดแหล่งที่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ (การสูบบุหรี่ ประกายไฟ เปลวไฟ)

- ห้ามแตะต้องหรือเดินผ่านไปบนสารที่หก

- หยุดการรั่วไหล ถ้าไม่เสี่ยงที่จะได้รับอันตราย

- ใช้น้ำฉีดฝอยเพื่อลดไอระเหยหรือกั้นกลุ่มไอระเหยไว้

- อย่าให้น้ำโดนสารที่หกหรือเข้าไปในภาชนะที่บรรจุ

- กรณีหกรั่วไหลเล็กน้อย   : ให้ใช้ดินแห้ง ทรายแห้ง หรือสารที่ไม่ติดไฟอื่น ๆ คลุมไว้แล้วปิดด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อป้องกันการกระจายหรือถูกฝน

- กรณีหกรั่วไหลมาก        : การทำความสะอาดหรือกำจัดสารนี้ต้องอยู่ในการควบคุมดูแล ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ

        การปฐมพยาบาล

- นำผู้ประสบอันตรายไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ประสบอันตรายหยุดหายใจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าผู้ประสบอันตรายหายใจลำบาก ให้ออกซิเจนช่วย

- ถอดเสื้อผ้า รองเท้าที่เปื้อนสารออกทันที กรณีที่สัมผัสกับสารให้ล้างออกถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำที่ไหลผ่านอย่างน้อย 15 นาที

- รักษาร่างกายของผู้ประสบอันตรายให้อบอุ่น และนำส่งแพทย์

- ผู้ปฐมพยาบาลต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสาร และวิธีป้องกันตนเอง

        ความปลอดภัยต่อสาธารณะ

- ให้กั้นแยกบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหลของสารโดยทันทีอย่างน้อย 50-100 เมตรโดยรอบ ให้อยู่เหนือลมและให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากบริเวณนี้

- ให้อยู่ในที่ต่ำ

        ชุดป้องกันอันตราย

- ให้สวมเครื่องช่วยหายใจชนิดที่มีถังอัดอากาศและใส่ชุดป้องกันสารเคมี

- ชุดผจญเพลิงทั่วไปใช้ป้องกันได้ในขีดจำกัดเท่านั้น

        การอพยพ

- กรณีหกรั่วไหลมาก : ต้องอพยพผู้ที่อยู่ใต้ลมออกไปเป็นอันดับแรก อย่างน้อย 500 เมตร

- กรณีเกิดอัคคีภัย     : เมื่อเกิดเพลิงไหม้ภาชนะบรรจุขนาดใหญ่ (รวมทั้งภาชนะขนส่งโดยรถยนต์หรือรถไฟ)ขั้นต้นให้อพยพผู้คนห่างออกไปในระยะ 800 เมตรโดยรอบ