หมวด ๒

หลักเกณฑ์การขอพิจารณาคำขอ

 

                        ข้อ ๓  เมื่อได้รับคำขอพร้อมเอกสารและหลักฐานแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตตามขั้นตอนและระยะเวลา ดังต่อไปนี้

                           ()  กรณีคำขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย

                                        ()  เมื่อได้รับคำขอแล้ว ต้องตรวจสอบทำเลที่ตั้งของสถานที่ผลิต สถานที่เก็บรักษา เครื่องจักร ความถูกต้องของเอกสารและจัดทำรายงาน การตรวจสอบภายในสามสิบวัน

                                        ()  เมื่อได้ดำเนินการตาม () แล้ว ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบวัน

                                        ()  แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบวัน ในกรณีไม่อนุญาตให้แจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบด้วย

                             ()  กรณีคำขออนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย

                                        ()  เมื่อได้รับคำขอแล้ว ต้องตรวจสอบทำเลที่ตั้งของสถานที่เก็บรักษา ความถูกต้องของเอกสาร และจัดทำรายงานการตรวจสอบภายในสิบวัน

                                        ()  เมื่อได้ดำเนินการตาม () แล้ว ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบวัน

                                        ()  แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบวัน ในกรณีไม่อนุญาตให้แจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบด้วย

                        ระยะเวลาตาม () และ () ให้นับตั้งแต่ผู้ยื่นคำขอได้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมเอกสาร และหลักฐานเพื่อพิจารณาครบถ้วนแล้ว แต่ไม่ให้นับระยะเวลาที่ หน่วยงานพิจารณาคำขออนุญาตสั่งการให้ผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการให้สมบูรณ์หรือระยะเวลาที่ต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุญาตหรืออนุมัติจากหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมาย หรือระเบียบปฏิบัติกำหนดไว้

                          ข้อ ๔  จังหวัดใดมีการกำหนดเขตอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม หรือ เขตประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้ว สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายที่มีเครื่องจักรตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าหรือมีคนงานตั้งแต่ห้าสิบคน หรือที่มีการใช้ วัตถุอันตรายในการผลิตวันละห้าร้อยกิโลกรัมขึ้นไปต้องตั้งอยู่ในเขตดังกล่าวแต่ถ้าเขตนั้น ๆ มีขนาดไม่เพียงพอหรือมีสภาพที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการผลิตวัตถุอันตราย หรือจังหวัดใดยังไม่มีการกำหนดเขตดังกล่าว จึงจะพิจารณาให้ตั้งสถานที่ผลิตวัตถุอันตรายนอกเขตดังกล่าวได้ 

                        ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการ และคุณสมบัติของวัตถุอันตรายประกอบด้วย

 

                        ข้อ ๕  สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมและปลอดภัยแก่การขนส่งวัตถุอันตราย ไม่ก่อเหตุรำคาญ มลพิษ หรือผลกระทบใด ๆ ต่อแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ หรือแหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและต้องไม่อยู่ในบริเวณ ดังต่อไปนี้

                                 ()  ภายในระยะห้าร้อยเมตรจากเขตพระราชฐาน

                                 ()  ในเขตบ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรรเพื่อการพักอาศัย ตึกแถวหรือบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย หรืออาคารชุดพักอาศัย

                                 ()  ในเขตศูนย์การค้า

                                 ()  ภายในระยะหนึ่งร้อยเมตรจากเขตสาธารณสถาน เช่น โรงเรียน หรือสถานศึกษา วัดหรือศาสนสถาน สถานพยาบาล โบราณสถาน  หรือสถานที่ทำการงานของหน่วยงานของรัฐ

           

                        ข้อ ๖  สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายต้องมีบริเวณพื้นที่ว่างโดยรอบอาคารเพื่อการควบคุมและป้องกันการเกิดอุบัติภัย โดยคำนึงถึงขนาด ลักษณะของการประกอบกิจการ และคุณสมบัติของวัตถุอันตรายประกอบด้วย

 

                        ข้อ ๗  อาคารผลิตวัตถุอันตรายที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต้องมีลักษณะเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

                                 ()  อาคารที่มีจำนวนชั้นมากกว่าสองชั้นขึ้นไปต้องมีบันไดหนีไฟนอกอาคารอย่างน้อยชั้นละหนึ่งแห่ง และต้องเป็นการติดตั้งที่ถาวร และมั่นคงแข็งแรง

                                 ()  พื้นอาคารต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่กักขังน้ำหรือลื่น อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และต้องไม่มีคุณสมบัติในการดูดซับวัตถุอันตราย ในกรณีมีการผลิตวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวต้องจัดทำรางระบายและบ่อพักขนาดที่เหมาะสมเพื่อการระบายและกักเก็บวัตถุอันตรายที่อาจหกหรือรั่วไหล

                                 ()  วัตถุที่ใช้ในการก่อสร้างต้องเหมาะสมกับการประกอบกิจการตามขนาดและคุณสมบัติของวัตถุอันตรายรวมทั้งไม่ก่อให้เกิดการลุกลาม ของอัคคีภัย

 

                        ข้อ ๘  อาคารผลิตวัตถุอันตรายที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

                                 ()  อาคารต้องมั่นคงแข็งแรง เหมาะสมและมีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้น ๆ

                                 ()  มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยให้มีพื้นที่ประตู หน้าต่าง และช่องลมรวมกันโดยไม่นับติดต่อระหว่างห้องไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ ส่วน ของพื้นที่ของห้องหรือมีการระบายอากาศไม่น้อยกว่า ๐.๕ ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ต่อคนงานหนึ่งคน

                                 ()  มีบันไดที่มั่นคงแข็งแรงและมีลักษณะ ขนาด และจำนวนที่เหมาะสมกับอาคารและการประกอบกิจการ ขั้นบันไดต้องไม่ลื่นและมีช่วงระยะ เท่ากันโดยตลอด บันไดและพื้นทางเดินที่อยู่สูงจากระดับพื้นตั้งแต่ ๑.๕๐ เมตรขึ้นไปต้องมีราวที่มั่นคง แข็งแรงและเหมาะสม หากอาคารดังกล่าวมีจำนวนชั้นมากกว่า สองชั้นขึ้นไปต้องมีบันไดหนีไฟนอกอาคารอย่างน้อยชั้นละหนึ่งบันไดซึ่งต้องเป็นการติดตั้งที่ถาวร และมั่นคงแข็งแรง

                                 ()  พื้นอาคารต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่กักขังน้ำหรือลื่น อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และต้องไม่มีคุณสมบัติในการดูดซับวัตถุอันตราย ในกรณีมีการผลิตวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวต้องจัดทำรางระบายและบ่อพักขนาดที่เหมาะสมเพื่อการระบายและกักเก็บวัตถุอันตรายที่อาจหกหรือรั่วไหล

                                 ()  วัตถุที่ใช้ในการก่อสร้างต้องเหมาะสมกับการประกอบกิจการตามขนาดและคุณสมบัติของวัตถุอันตรายรวมทั้งไม่ก่อให้เกิดการลุกลาม ของอัคคีภัย

                                 ()  มีที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่เหมาะสม ปลอดภัย และเป็นสัดส่วน

 

                        ข้อ ๙  สถานที่เก็บวัตถุอันตรายต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมและปลอดภัยแก่การขนส่งวัตถุอันตราย ไม่ก่อเหตุรำคาญ มลพิษ หรือผลกระทบใด ๆ ต่อแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ หรือแหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงปริมาณ คุณลักษณะ และสภาพของวัตถุอันตราย รวมทั้งความปลอดภัย ของภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายนั้นประกอบด้วย

 

                        ข้อ ๑๐  อาคารเก็บรักษาวัตถุอันตรายนอกจากจะต้องมีลักษณะเช่นเดียวกับอาคารผลิตวัตถุอันตรายตามข้อ ๗ หรือข้อ ๘ แล้วแต่กรณี ต้องมีลักษณะเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

                                 ()  ต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ อันตราย หรือความเสียหายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

                                 ()  ต้องมีที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเฉพาะตามคุณสมบัติของวัตถุอันตราย มีขนาดและลักษณะเหมาะสมกับชนิด และปริมาณที่ขออนุญาต รวมทั้งมีบริเวณเพียงพอที่จะอำนวยความสะดวกแก่การขนย้ายวัตถุอันตรายเข้าออก

                                 ()  อาคารที่มีความกว้างและความยาวด้านละตั้งแต่สามสิบเมตรขึ้นไป ต้องมีผนังที่ทำจากวัสดุทนไฟกั้นตัดตอนโดยมีระยะห่างกันอย่างน้อย หนึ่งผนังทุก ๆ สามสิบเมตร เพื่อป้องกันการลุกลามของอัคคีภัย

                                 ความใน () มิให้ใช้บังคับกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อการใช้รับจ้างการค้าปลีกวัตถุอันตรายที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปสำหรับ จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค หรือการใช้สอยวัตถุอันตรายส่วนบุคคล

 

                        ข้อ ๑๑  การเก็บรักษาวัตถุอันตรายในที่โล่งแจ้ง ต้องจัดให้มีการป้องกันการหกหรือรั่วไหลของวัตถุอันตรายที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตราย และขนาดของการประกอบกิจการและสามารถควบคุมวัตถุอันตรายไม่ให้หกหรือรั่วไหลสู่ภายนอกได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น

 

                        ข้อ ๑๒  ภาชนะเก็บวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวที่มีปริมาณตั้งแต่สามหมื่นลิตรขึ้นไป ต้องมั่นคงแข็งแรงและเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                        ในกรณีที่มีการติดตั้งภาชนะตามวรรคหนึ่งอยู่กับที่ หรือในกรณีที่มีการติดตั้งภาชนะเก็บวัตถุอันตรายดังกล่าวมากกว่าหนึ่งภาชนะโดยติดตั้งอยู่กับที่ เป็นกลุ่ม มีปริมาณรวมกันตั้งแต่ห้าหมื่นลิตรขึ้นไป เจ้าของภาชนะดังกล่าวต้องสร้างเขื่อนคอนกรีตโดยรอบให้มีขนาดที่สามารถกักเก็บปริมาณของวัตถุอันตรายได้ทั้งหมด ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อป้องกันการหกหรือรั่วไหลของวัตถุอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น

 

                        ข้อ ๑๓  ภาชนะเก็บวัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ (pressure vessel) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับ และมีอุปกรณ์ ความปลอดภัยและส่วนประกอบที่จำเป็นตามหลักวิชาการ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

                        ข้อ ๑๔  การนำเข้า การส่งออก หรือการนำผ่านวัตถุอันตราย หรือการดำเนินการอื่นใดต่อวัตถุอันตรายต้องคำนึงถึง
สนธิสัญญาและข้อผูกพันระหว่างประเทศ
 


                BACK   หมวด ๑ คำขอ | กลับหน้าประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมหมวด ๓ การอนุญาต NEXT