จากคุณ
:
กร
[8/25/2005 10:46:02 AM]
ประกาศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย
วิธีดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าอันตรายขาเข้าและขาออก
ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2544
1. การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าอันตรายขาเข้า
1.1 การท่าเรือฯ แบ่งกลุ่มประเภทสินค้าอันตรายตามที่ IMO กำหนดไว้ใน IMDG-Code ออกเป็น 3 กลุ่ม
ดังนี้
กลุ่มที่ 1 สินค้าอันตรายที่การท่าเรือฯ ไม่อนุญาตให้ทำการบรรทุกหรือขนถ่ายบริเวณหน้าท่า ณ ท่าเรือ
กรุงเทพ
กลุ่มที่ 2 สินค้าอันตรายร้ายแรง (สินค้าอันตรายประเภท ก) การท่าเรือฯ อนุญาตให้ทำการบรรรทุกหรือ
ขนถ่ายในบริเวณท่าเรือกรุงเทพได้ แต่ต้องนำออกทันทีที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือ
กลุ่มที่ 3 สินค้าอันตรายนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มที่ 1 และ 2 (สินค้าอันตรายประเภท ข) การท่า
เรือฯ จะรับฝากเก็บ ณ บริเวณที่ท่าเรือกรุงเทพกำหนด โดยมีระยะเวลาในการฝากเก็บไม่เกิน
5 วันทำการ นับจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่าย
ตารางแบ่งกลุ่มสินค้าอันตรายของท่าเรือกรุงเทพ
ประเภท
กลุ่มสินค้าอันตราย
หมายเหตุ
กลุ่มที่ 1
กลุ่มที่ 2
กลุ่มที่ 3
1. วัตถุระเบิด
2.1 ก๊าซไวไฟ
2.2 ก๊าซอัด
2.3 ก๊าซพิษ
3. ของเหลวไวไฟ
**
(*) เป็นของเหลวไวไฟที่มีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นพิษ
2. มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 10 C
4.1 ของแข็งไวไฟ
**
(**) มีคุณสมบัติดังนี้
1. ของแข็งที่ทำปฏิกิริยาได้เอง ประเภท
B และ C (Self-reactive Solid type B
and C)
2. ของเหลวที่ทำปฏิกิริยาได้เองประเภท
B และ C (Self-reactive Liquid type B
and C)
3. ของแข็งที่ทำปฏิกิริยาได้เองประเภท
B และ C ต้องควบคุมอุณหภูมิ
(Self-reactive Solid type B and C,
temperature Controlled)
4. ของเหลวที่ทำปฏิกิริยาได้เองประเภท
B และ C ต้องควบคุมอุณหภูมิ
(Self-reactive Liquid type B and C,
temperature Controlled)
5. เป็นพิษ
6. IMO กำหนดให้บรรจุในภาชนะ บรร
จุประเภทที่ 1 (Packaging group I)
4.2 สารที่ลุกไหม้ได้เอง
***
(***) มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นพิษ
2. เมื่อเปียกน้ำจะเกิดก๊าซไวไฟ
3. IMO กำหนดให้บรรจุในภาชนะ บรร
จุประเภทที่ 1 (Packaging group I)
4.3 สารที่เมื่อเปียกน้ำจะเกิด
ก๊าซไวไฟ
5.1 สารอ๊อกซิไดซ์
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
6.1 สารพิษ
***
(****) เป็นสารพิษที่มีคุณสมบัติติดไฟได้
6.2 สารแพร่เชื้อ
7. สารกัมมันตรังสี
8. สารกัดกร่อน
****
(****) มีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นพิษและติดไฟได้
2. เมื่อเปียกน้ำจะเกิดก๊าซไวไฟ
3. เป็นตัวเติมออกซิเจน
9. สารอันตรายเบ็ดเตล็ดและ
อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
สินค้าอันตรายทุกประเภทที่มีความเสี่ยงรอง (Secondary Risk) ตามกลุ่มที่ 1 และ 2 ให้ถือเป็นสินค้าอันตราย
ร้ายแรงกลุ่มที่ 2 (สินค้าอันตรายประเภท ก)
1.2 เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือฯ ยื่นแบบรายการสินค้าอันตราย (Dangerous Goods Declaration) ซึ่ง
สำแดงรายการสินค้าอันตรายตามที่กำหนดไว้ในหนังสือ International Maritime Dangerous Goods
Code (IMDG-Code) ที่แผนกควบคุมสินค้าอันตราย กองบริการงานทั่วไป ท่าเรือกรุงเทพ ก่อนเรือ
เทียบท่า 9 ชั่วโมง ข้อมูลในแบบรายการสินค้าอันตรายประกอบด้วย ชื่อทางเคมี (Chemical Name)
หรือชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง (Proper Shipping Name) หมายเลขสหประชาชาติ (UN Number) ประเภท
ของสินค้าอันตราย (Class) พร้อมรายละเอียดอื่นๆ ตามตัวอย่างแนบและต้องมีข้อความ "ขอรับรองว่า
ราย การสินค้าอันตรายดังกล่าวนี้แจ้งชื่อ ประเภท UN Number ถูกต้อง และบรรจุในภาชนะที่ได้มาตร
ฐานพร้อมติดฉลากตามที่ IMDG-Code กำหนดทุกประการ" พร้อมทั้งเซ็นชื่อกำกับในเอกสารนั้น และ
แนบเอกสาร Material Safety Data Sheet หรือเอกสารกำกับการขนส่งสินค้าอันตรายอื่นที่มีรายละ
เอียดข้อมูลตามต้องการของรายการสินค้าอันตรายแแต่ละรายการไปด้วย
1.3 สินค้าอันตรายกลุ่มที่ 1 ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร อนุญาตให้ทำการบรรทุกหรือขนถ่ายในบริ
เวณท่าเรือกรุงเทพได้ โดยให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสินค้าอันตรายกลุ่มที่ 2
1.4 สินค้าอันตรายร้ายแรงกลุ่มที่ 2 (สินค้าอันตรายประเภท ก)
1.4.1 สินค้าอันตรายประเภท ก ที่ดำเนินพิธีการทางศุลกากร และชำระค่าภาระต่างๆ แก่การท่า
เรือฯ เรียบร้อยแล้ว แต่รถบรรทุกยังไม่สามารถนำสินค้าออกนอกเขตการท่าเรือฯ ได้ การ
ท่าเรือฯ อนุญาตให้นำรถบรรทุกไปจอดไว้ในพื้นที่ที่กำหนด จนกว่าจะนำออกไปได้
1.4.2 สินค้าอันตรายประเภท ก (ที่เป็นสินค้าผ่านแดน) อนุญาตให้ทำการขนถ่ายได้ โดยนำสินค้า
ไปฝากเก็บ ณ คลังสินค้าอันตราย
1.4.3 สินค้าอันตรายประเภท ก ที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาลบคำผิด ฯลฯ
อนุญาตให้ทำการขนถ่ายได้ และฝากเก็บไว้ ณ พื้นที่ที่กำหนด
1.4.4 ภาชนะบรรจุเปล่าที่เคยบรรจุสินค้าอันตรายประเภท ก อนุญาตให้ทำการขนถ่ายได้ และ
ฝากเก็บไว้ ณ พื้นที่ที่กำหนด
2. การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าอันตรายขาออก
2.1 การท่าเรือฯ แบ่งกลุ่มสินค้าอันตรายออกเป็น 3 กลุ่ม เช่นเดียวกับสินค้าอันตรายขาเข้า
กลุ่มที่ 1 สินค้าอันตรายที่การท่าเรือฯ ไม่อนุญาติให้ทำการบรรทุกลงเรือบริเวณหน้าท่า ณ ท่าเรือกรุง
เทพ
กลุ่มที่ 2 สินค้าอันตรายร้ายแรง (สินค้าอันตรายประเภท ก) การท่าเรือฯ ไม่อนุญาตให้ทำการบรรจุตู้สิน
ค้า ที่แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้า เมื่อนำตู้สินค้าอันตราย เข้ามาแล้วต้องบรรทุกลงเรือโดย
ตรง ไม่อนุญาตให้วางพักไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพ
กลุ่มที่ 3 สินค้าอันตรายนอกเหนือจากกลุ่มที่ 1 และ 2 การท่าเรือฯ อนุญาตให้ทำการบรรจุตู้สินค้า ที่
แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้า และฝากเก็บไว้ในอาณาบริเวณ ท่าเรือกรุงเทพได้ไม่เกิน 5 วัน
ทำการ ก่อนการบรรทุกลงเรือ
2.2 การยื่นเอกสารสินค้าอันตรายขาออก
2.2.1 สินค้าอันตรายที่ขอบรรจุตู้สินค้า ที่แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้า เจ้าของหรือตัวแทนเจ้า
ของสินค้าต้องยื่นสำเนาใบขนสินค้าขาออก พร้อมหมายเลขตู้สินค้าที่ต้องการบรรจุสินค้าอัน
ตราย ชื่อทางเคมี (Chemical Name) หรือชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง
(Proper Shipping Name), UN Number, ประเภทสินค้าอันตราย (Class) พร้อมรายละเอียด
อื่นๆ เช่นเดียวกับสินค้าอันตรายขาเข้า พร้อมทั้งแนบ Material Safety Data Sheet หรือ
เอกสารกำกับการขนส่งสินค้าอันตรายอื่นที่มีรายละเอียดข้อมูลตามต้องการ ณ แผนกควบ
คุมสินค้าอันตราย กองบริหารงานทั่วไป ท่าเรือกรุงเทพ ล่วงหน้า 9 ชั่วโมง ก่อนนำสินค้าอัน
ตรายเข้ามาในอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพเพื่อบรรจุตู้สินค้า
2.1.2 สินค้าอันตรายที่บรรจุตู้สินค้ามาจากภายนอก เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้ายื่นเอกสาร
เช่นเดียวกับข้อ 2.2.1 และเพิ่มเอกสารแบบ ทกท. 308.2
2.1.3 ตู้แทงค์ (Tank Container) ที่บรรจุสินค้าอันตรายแล้วและมีความประสงค์จะทำการส่งตู้
แทงค์เปล่าเป็นตู้สินค้าขาออก ต้องนำเอกสารมายื่นที่แผนกควบคุมสินค้าอันตราย กอง
บริหารงานทั่วไป ท่าเรือกรุงเทพ เช่นเดียวกับข้อ 2.2.2
2.3 สินค้าอันตรายกลุ่มที่ 1 ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร อนุญาตให้ทำการบรรทุกลงเรือบริเวณหน้า
ท่า ท่าเรือกรุงเทพ แต่ไม่อนุญาตให้ทำการบรรจุตู้สินค้าที่แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้า เมื่อนำตู้สิน
ค้าอันตรายเข้ามาแล้ว ต้องบรรทุกลงเรือโดยทันที ไม่อนุญาตให้วางพักไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือกรุง
เทพ
2.4 สินค้าอันตรายกลุ่มที่ 2 (สินค้าอันตรายประเภท ก)
2.4.1 สินค้าอันตรายประเภท ก ที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาลบคำผิด ฯลฯ
อนุญาตให้ทำการบรรจุสินค้า ที่แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้า และฝากเก็บไว้ ณ พื้นที่ที่กำ
หนดได้ไม่เกิน 5 วันทำการก่อนการบรรทุกลงเรือ
2.4.2 ภาชนะเปล่าที่เคยบรรจุสินค้าอันตรายประเภท ก อนุญาตให้ทำการบรรจุตู้สินค้าที่แผนก
ควบคุมการบรรจุตู้สินค้า และฝากเก็บไว้ ณ พื้นที่ที่กำหนดได้ไม่เกิน 5 วันทำการ ก่อนการ
บรรทุกลงเรือ
2.4.3 สินค้าอันตราประเภท ก. ดังต่อไปนี้
- Aerosols Class 2 UNNO 1950
- Receptacle, small, containing gas Class 2 UNNO 2037
ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสินค้าอันตรายกลุ่มที่ 3 เนื่องจากเป็นภาชนะบรรจุก๊าซขนาดเล็ก
2.1.4 สินค้าอันตรายประเภท ก ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรอนุญาตให้ทำการบรรจุตู้สินค้า
ที่แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้า และฝากเก็บไว้ ณ พื้นที่ที่กำหนดได้ไม่เกิน 5 วันทำการ
ก่อนการบรรทุกลงเรือ
2.1.5 สินค้าอันตรายประเภท ก ที่มีปริมาณน้อยกว่า 2,000 กิโลกรม อนุญาตให้ทำการบรรจุตู้สิน
ค้าที่แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้า และฝากเก็บไว้ ณ พื้นที่ที่กำหนดได้ไม่เกิน 5 วันทำ
การ ก่อนการบรรทุกลงเรือ
2.5 สินค้าอันตรายกลุ่มที่ 3 (สินค้าอันตรายประเภท ข) สินค้าอันตรายที่ห้ามทำการบรรจุตู้สินค้า ณ แผนก
ควบคุมการบรรจุตู้สินค้า ได้แก่
- Asbestos
- Carbon black
- Paraformaldehyde
- สินค้าอันตราประเภท ข เจ้าของเดียวที่มีจำนวนตู้สินค้ามากกว่า 30 TEUs
(Twenty feet Equivalent Unit)
2.6 สินค้าอันตรายขาออกที่เป็น waste จะต้องระบุว่า "waste" ในสำเนาใบขนสินค้าขาออก
3. ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าอันตราย
3.1 ในการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าอันตราย หัวหน้าผู้ซึ่งชำนาญงาน (Foreman) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร
ความปลอดภัยในการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าอันตราย ต้องทำการควบคุมการบรรทุกและขนถ่าย
อย่างเข้มงวด รัดกุม ปลอดภัย ตามที่การท่าเรือฯ กำหนดไว้
3.2 การบรรทุกและขนถ่ายสินค้าอันตรายต้องถูกต้องตามกฎระเบียบ การบรรทุกและขนถ่ายสินค้าอัน
ตรายของการท่าเรือฯ รวมทั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับระหว่างปรเทศด้วย
3.3 ให้ตัวแทนเรือนำแผนผังการจัดเก็บสินค้าอันตรายในระวางเรือ มาติดไว้บริเวณช่องทางขึ้นบนเรือ
ก่อนการปฎิบัติงานบรรทุกและขนถ่ายสินค้าอันตรายทุกครั้ง
3.4 ห้ามทำการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเรือสินค้า ขณะทำการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าอันตราย
3.5 ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสินค้าอันตรายภายในเขตการท่าเรือฯ จะต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
ส่วนบุคคลตามประเภทของสินค้าอันตรายในการปฎิบัติงานทุกครั้ง
3.6 การจัดเก็บสินค้าอันตรายต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบในการเก็บรักษาสินค้าอันตรายอย่างเคร่งครัด
3.7 ภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้าอันตราย ต้องได้มาตรฐานตามที่ IMDG-Code กำหนดไว้และต้องปิดฉลากสิน
ค้าอันตรายบนภาชนะหรือตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าอันตรายให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการบรรจุสินค้าอัน
ตรายเต็มตู้สินค้าหรือปนกับสินค้าทั่วไป โดยยึดหลักการจัดแบ่งประเภทของสินค้าอันตรายตาม
IMDG-Code
3.8 ห้ามมิให้เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้า เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือฯ ทำการอบยาตู้สินค้าเปล่า
เพื่อฆ่าเชื้อ ในอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ยกเว้นตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าเกษตรอนุญาตให้อบยาฆ่า
เชื้อได้บริเวณ แผนกควบคุมการบรรจุตู้สินค้าและต้องปิดฉลากแสดงให้รู้ว่าเป็นตู้สินค้าอบยา แล้ว
นำไปวางที่ท่าบริการตู้สินค้า 1 หรือ 2
3.9 สินค้าประเภทเครื่องสำอางสำเร็จรูปและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทาง IMO กำหนดให้เป็นสินค้าอัน
ตราย การท่าเรือฯ อนุญาตให้ฝากเก็บที่โรงพักสินค้าพิธีการได้
3.10 สินค้าที่ IMO ไม่จัดว่าเป็นสินค้าอันตราย แต่การท่าเรือฯ ไม่รับฝากเก็บภายในโรงพักสินค้า ต้อง
ฝากเก็บในตู้สินค้าเท่านั้น คือ
3.10.1 สินค้าประเภทของเสีย (Waste) สินค้าประเภทเปรอะเปื้อนและสินค้าประเภทมีกลิ่นเหม็น
3.10.2 สินค้าเคมีที่มีค่าความเข้มข้นของสารเกินกว่าค่าตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง
ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ลง วันที่ 30 พฤษภาคม
2520 ในกรณีที่สินค้านั้นจะทำการขนถ่ายข้างลำ (overside) ให้ทำการขนถ่ายข้างลำได้
เฉพาะนอกเวลางานปกติเท่านั้น
3.11 ในการขนส่งสินค้าอันตราย จะต้องทำการผูกยึดสินค้าอันตราย บนรถบรรทุกให้แน่นหนา ก่อนขนส่ง
ออกจากการท่าเรือฯ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขนส่ง
4. การดำเนินการกรณีไม่ปฎิบัติตามประกาศการท่าเรือฯ
4.1 สินค้าอันตรายขาเข้า กรณีเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้า ไม่ปฏิบัติตามประกาศการท่าเรือฯ ในการ
ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าอันตราย อันอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติภัย หรือเกิดความเสียหายแก่ชีวิต
ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้ การท่าเรือฯ จำดำเนินการดังนี้
4.1.1 หากตรวจพบว่า เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือละเลยไม่แจ้งบัญชีสินค้าอันตราย หรือแจ้ง
ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในบัญชีสินค้าสำหรับเรือ หรือมิได้แจ้งภายในระยะเวลาที่การท่าเรือฯ
กำหนด การท่าเรือฯ จะเรียกเก็บค่าปรับในอัตรา 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ต่อ 1 ลำ
เรือ โดยเรียกเก็บจากเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือ
4.1.2 หากตรวจพบว่า เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้า ละเลยไม่แจ้งในบัญชีสินค้าวอันตราย
การท่าเรือฯ จะเรียกเก็บค่าปรับในอัตรา 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 ใบตราส่งสิน
ค้า โดยเรียกเก็บจากเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้า
4.1.3 ตู้สินค้าบรรจุสินค้าอันตราย ที่ไม่ติดฉลากสินค้าอันตราย ติดฉลากสินค้าอันตรายอยู่แล้ว
แค่ฉีกออก หรือนำสินค้าอันตรายออกจากตู้สินค้าแล้ว ไม่ฉีกฉลากออกจากตู้สินค้า การท่า
เรือฯ จะเป็นผู้ติดฉลากสินค้าอันตราย หรือทำการลอกฉลากออกให้ แต่จะเรียกเก็บค่าปรับ
จากเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้า ดังนี้
- กรณีติดฉลากสินค้าอันตราย ค่าปรับฉลากละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
- กรณีทำการลอกฉลากสินค้าอันตราย ค่าปรับตู้ละ 100 บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน)
4.1.4 ในกรณีที่ความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นเนื่องจากการที่เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือ เจ้าของ
หรือตัวแทนเจ้าของสินค้า ละเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศการท่าเรือฯ เจ้าของหรือตัวแทนเจ้า
ของเรือ เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้า จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าเสียหายทั้งหมดที่
เกิดขึ้นต่อการท่าเรือฯ หรือผู้อื่นที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น และการท่าเรือฯ อาจพิจารณา
งดการให้บริการต่อไปด้วย
4.2 สินค้าอันตรายขาออก กรณีเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้าไม่ปฏิบัติตามประกาศการท่าเรือฯ ในการ
ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าอันตราย อันอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหายแก่ชีวิต
ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้ การท่าเรือฯ จำดำเนินการดังนี้
4.2.1 หากตรวจพบว่าเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้าละเลย ไม่ยื่นเอกสารหรือมิได้แจ้งภายใน
ระยะเวลาที่การท่าเรือฯ กำหนด การท่าเรือฯ จะเรียกเก็บค่าปรับในอัตรา 3,000 บาท
(สามพันบาทถ้วน) ต่อสินค้าอันตราย 1 รายการ
4.2.2 ตู้สินค้าบรรจุสินค้าอันตราย หากตรวจพบว่าไม่ติดฉลาก สินค้าอันตราย การท่าเรือฯ จะเป็น
ผู้ติดฉลากสินค้าอันตราย แต่จะเรียกเก็บค่าปรับจากเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้าใน
อัตราฉลากละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
4.2.3 ในกรณีที่ความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น เนื่องจากการที่เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือ เจ้าของ
หรือตัวแทนเจ้าของสินค้าละเลยไม่ปฏิบัติตามประกาศ การท่าเรือฯ เจ้าของหรือตัวแทนเจ้า
ของเรือ เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของสินค้า จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าเสียหายทั้งหมดที่
เกิดขึ้นต่อการท่าเรือฯ หรือผู้อื่นที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น และการท่าเรือฯ อาจพิจารณา
งดการให้บริการต่อไปด้วย
|