Topic
:
กฎหมายคอมพิวเตอร์ จากคุณ : T [ 18/7/2550] โลกในยุคไร้พรมแดนอย่างทุกวันนี้ ทำให้คอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนยุคใหม่ ยิ่งคนที่อยู่ในสังคมเมือง ดูเหมือนจะปฎิเสธเจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เสียไม่ได้ แม้จะยังไม่ถึงขนาดมีประจำตัวเหมือนโทรศัพท์มือถือ แต่ถ้าจะบอกว่าทุกบ้านในเมืองใหญ่ๆ จะมีคอมพิวเตอร์ประจำทุกบ้านก็ไม่น่าจะผิด โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็ก และอยู่ในวัยกำลังศึกษาเล่าเรียน เกือบจะปฎิเสธไม่ได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่ง ของการเรียนที่จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ประจำทุกบ้านแล้ว ยกเว้นตาสีตาสา คุณตาคุณยาย ที่ยังเปิดปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เป็น และ ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีคอมพิวเตอร์ ท่านเหล่านั้น ยังคงใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการใช้เครื่องไฟฟ้า ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาล้วงข้อมูล หรือความลับไปได้ ไม่เหมือนกับเด็กในยุคนี้ที่คิดว่าตัวเองทันสมัย แต่ตกเป็นทาสของเครื่องไฟฟ้าที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ เป็นทาสถึงขนาด ไม่มีไม่ได้ ต้องมีให้ได้ มีไว้เพื่อทำการบ้าน และเอาไว้คุยกับใครก็ไม่รู้ทางอินเทอร์เน็ต เวลาส่วนใหญ่ของเด็กยุคนี้ จึงใช้ไปกับการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ ออนเอ็ม กับเพื่อน แม้คอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์ และเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตยุคใหม่แล้วก็ตาม แต่ผู้ปกครองจะต้องระมัดระวังลูกหลานด้วย เพราะไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม เมื่อมีคุณอนันต์ ย่อมมีโทษมหันต์ด้วยเช่นกัน ข้อมูลข่าวสารทุกวันนี้ มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ รวมถึงคนร้ายที่จ้องหาประโยชน์จากผู้อื่นด้วย การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานระดับสูงหรือของบริษัทใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ เป็นสิ่งท้าทายนักเจาะข้อมูล ที่เรียกว่า แฮกเกอร์ ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเราด้วย แสดงว่าคนไทยเราเก่งไม่แพ้คนชาติใดในโลก ไม่ว่าทางดีหรือทางไม่ดี การก่อกวนหรือลักขโมยข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่กฎหมายอาญาที่ใช้อยู่ ไม่สามารถเอาผิดได้ เนื่องจากเป็นความผิดที่ทันสมัย ไม่สามารถปรับข้อกฎหมายเอาผิดได้ จึงได้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อเอาผิดกับบรรดาแฮกเกอร์ จอมก่อกวนทั้งหลาย ชื่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 กฎหมายดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศ เมื่อนับนิ้วดูแล้ว พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป ใครที่คิดจะทำความผิด ให้รีบทำเสียก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ เมื่อกฎหมายใช้บังคับแล้ว ขอให้หยุดก่อกวนชาวบ้าน จะได้ไม่ต้องย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ ในคุก กฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 30 มาตรา บัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างครอบคลุม จึงทำให้ต้องใช้ภาษาทางกฎหมาย เพื่อให้มีความหมายเผื่อไว้สำหรับวิธีการใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง อัตราโทษสำหรับลงโทษผู้กระทำผิด มีตั้งแต่ปรับอย่างเดียว จนสูงสุดจำคุกถึง 20 ปี ซึ่งพอจะสรุปเป็นภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้ ความผิดสำหรับนักเจาะ 1. พวกที่ชอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่เขาอุตส่าห์สร้างระบบป้องกันไว้ แต่ถ้าเข้าเว็บสาธารณะ ก็ย่อมไม่มีความผิด โทษสำหรับพวกชอบเจาะ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท 2. แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เข้าเก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า 3. คนที่เปิดเผยรหัส (Password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับใช้เพื่อเข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ความผิดสำหรับนักล้วง พวกที่ชอบดักข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท ความผิดสำหรับพวกปล่อยไวรัส 1. พวกทำลายข้อมูล หรือไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคนอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลายตรงๆ หรือพวกพนักงานที่ทำงานอยู่แล้วกำลังจะออก ไปทำลายข้อมูลของเขา มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท 2. ถ้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ จะมีข้อมูลหรือไม่ก็ตาม มีโทษเท่ากัน 3. ถ้าการทำลายข้อมูลของคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษจะสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท 4. และถ้ากระทบถึงความมั่นคงของประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3-15 ปี 5. แต่ถ้าทำจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10-20 ปี ความผิดของพวกก่อกวนหรือชอบแกล้งคนอื่น 1. พวกที่ชอบส่งเมลก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ ป๊อบอัพ หรือพวกชอบส่งเมลขยะทั้งหลาย โดยที่เขาไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ 2. พวกที่ชอบส่งเมล เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น หรือพวก เจ้ากรมข่าวลือที่ชอบปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงพวกผสมโรงที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเสมอกันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท 3. พวกที่ชอบใช้ศิลปะเฉพาะตัว ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเขาเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ ไม่เกิน 60,000 บาท แต่กฎหมายยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำด้วยความสุจริต จะไม่เป็นความผิด ซึ่งผมยังนึกไม่ออกครับว่า ถ้าตัดต่อภาพเขาแล้ว จะสุจริตได้อย่างไร คงเป็นกรณีตัดต่อให้ดูสวยกว่าตัวจริง ซึ่งก็ไม่รู้จะทำไปทำไม ความผิดของผู้ให้บริการหรือ เจ้าของเว็บ ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ มีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้น ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ จะต้องรับโทษเอง แต่เบาหน่อย คือปรับอย่างเดียวไม่เกิน 500,000 บาท การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะทำนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าวเป็นผู้ทำ ถ้าเกิดความเสียหายไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ตอย่างนี้ จะตามจับได้อย่างไร เรื่องนี้ขอเตือนพวกลองดีทั้งหลายว่า อย่าประมาท เพราะกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมถึงมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตามตรวจสอบ ก๊อบปี้ ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของอื่นโดยไม่มีความผิดตามกฎหมายนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อน จะทำโดยพลการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจหน้าที่ไปเจาะของเขามาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่เองนั่นแหละจะต้องย้ายภูมิลำเนาเข้าไปยู่ในคุก ด้วยอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และแม้ไม่ตั้งใจเปิดเผย แต่ด้วยความประมาท ทำให้ข้อมูลหลุดไปสู่อินเทอร์เน็ต ก็ต้องรับโทษด้วย คือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท เมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยความสุจริต คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะไปกลั่นแกล้งหรือใส่ร้ายป้ายสีใคร เพียงแต่จะรู้เรื่องของชาวบ้านน้อยลง เพราะถ้าทุกคนทำตามกฎหมาย e-mail ในระบบจะหายไปกว่าครึ่ง เพราะทุกวันนี้ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-mail ที่ส่งกัน ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน แต่เป็นเรื่องชาวบ้าน เป็นภาพวาบหวิวของน้องๆ ทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่เข้าข่ายผิดกฎหมายฉบับนี้ทั้งนั้น จริงไหมครับท่านผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 |
จากคุณ : T [18/7/2550 9:43:33]
นับจากวันนี้ไปผมในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลในส่วนนี้จำเป็นต้องกรอง หรือ ลบทิ้งข้อความที่หมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิ์ของบุคคลอื่น หรือองค์กรอื่น และอาจต้องให้สมัครสมาชิกรวมทั้งเก็บข้อมูลเส้นทางในการเข้ามาในเว็บบอร์ด์นี้ สำหรับการโพสข้อคิดเห็นต่างๆ ขอความร่วมมือในการตั้งกระทู้และตอบในลักษณะสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมนะครับ |
จากคุณ : comforu.com [3/6/2010 1:06:41 PM]
http://comforu.com/default.aspx |
จากคุณ : Buisness_Idea [16/3/2560 14:50:08]
http://www.techcrazy.us Let's mention the most up-to-date high-tech solutions. I often hope until this can wake up a certain amount of grey subject creativity using all information marketers around to help find some good new information products built: The "iPad: " More than likely a good friend of acquire mentioned your "iPad" in my opinion sometime during the past, but My spouse and i didn't discover one until a few days ago on your subway. |
ความคิดเห็นเพิ่มเติม : Reply this Topic |
จากคุณ
: name |