ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย

ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2543


       โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไข ปรับปรุงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การแจ้งปริมาณของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครอง
ซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 20(1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

       ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การแจ้งปริมาณของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2538

       ข้อ 2 วัตถุอันตรายตามประกาศนี้ หมายความว่าวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ออกตามความ
ในมาตรา 18 วรรคสอง

       ข้อ 3 ให้ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกซึ่งวัตถุอันตรายแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชื่อวัตถุอันตราย สูตรและอัตราส่วน ชื่อทางการค้า ชื่อสามัญหรือชื่อย่อ(ถ้ามี)  ปริมาณ รายละเอียดภาชนะบรรจุ  สถานที่เก็บ ชื่อพาหนะ ด่านศุลกากรที่นำเข้าหรือส่งออก และกำหนดวันที่พาหนะจะมาถึง หรือออกจากด่านศุลกากร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ก่อนนำ  หรือส่งวัตถุอันตรายออกจากด่านศุลกากร ตามแบบ วอ./อก.6 ท้ายประกาศนี้

       ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 ให้แจ้งที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือจะแจ้ง ณ สถานที่ใด ที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดก็ได้ ในการนี้จะแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้ ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ให้แจ้งที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือจะแจ้ง ณ สถานที่ใดที่ กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดก็ได้

       ข้อ 4 ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายท้ายประกาศแจ้งข้อเท็จจริง เกี่ยวกับชื่อวัตถุอันตราย สูตรและอัตราส่วน ชื่อทางการค้า ชื่อสามัญหรือชื่อย่อ(ถ้ามี) ทะเบียน(ถ้ามี) ปริมาณที่ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ปริมาณที่จำหน่าย 
จำหน่ายให้แก่ผู้ใด ผู้ซื้อนำไปใช้ในกิจการใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามแบบ วอ./อก.7 ท้ายประกาศนี้

        การประกอบการในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ต้องแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่งภายในเดือนกรกฎาคมของปีนั้นและการประกอบการในระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคมต้องแจ้งภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยให้แจ้งที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือจะแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้

       ข้อ 5 การแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ให้ถือว่าวันที่ไปรษณีย์รับลงทะเบียนเป็นวันแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ

ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                                                                                      ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2543

 

                                                                                                               (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ)

                                                                                                     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 117 ตอนพิเศษ 43 ง ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2543


บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
 เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิตผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย

 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2543

 1. ACETIC ACID > 80 % w/w

 2. ACETONE > 75 % w/w

 3. ARSENIC TRIOXIDE (CRUDE ARSENIC ; WHITE ARSENIC ; ARSENIOUS ACID ; ARSENOUS ANHYDRIDE)

 4. BARIUM CARBONATE

 5. BORAX ( SODIUM TETRABORATE DECAHYDRATE , SODIUM  BORATE  DECAHYDRATE, BORAX DECAHYDRATE)

 6. BORAX PENTAHYDRATE

 7. n-BUTYL MERCAPTAN (1-BUTANETHIOL)

 8. sec-BUTYL MERCAPTAN (2-BUTANETHIOL)

 9. tert-BUTYL MERCAPTAN (2-METHYL-2-PROPANETHIOL)

10. CALCIUM HYPOCHLORITE

11. CARBON TETRACHLORIDE (TETRACHLOROMETHANE)

12. CHLOROFLUOROCARBONS and its substitutions

13. CHLOROFORM (TRICHLOROMETHANE)

14. ETHANETHIOL (ETHYL MERCAPTAN ; ETHYL SULFHYDRATE)

15. ETHYLENE DICHLORIDE

16. ETHYL ETHER (ETHER ; DIETHYL ETHER ; ETHYL OXIDE)

17. HALON 1301

18. HALON 1211

19. HALON 2402

20. HYDROCHLORIC ACID > 15 % w/w

21. HYDROGEN CHLORIDE (anhydrous)

22. HYDROGEN CHLORIDE (refrigerated liquid)

23. HYDROFLUOROCARBONS and its substitutions

24. MERCURY (II) THIOCYANATE

25. METHANOL (METHYL ALCOHOL)

26. METHYL CHLORIDE (CHLOROMETHANE)

27. METHYL ETHYL KETONE

28. PENTACHLOROPHENATE SODIUM (PENTACHLOROPHENOXIDE SODIUM)

29. PERFLUOROCARBONS and its substitutions

30. PHOSPHORUS OXYCHLORIDE (PHOSPHORYL CHLORIDE)

31. PHOSPHORUS PENTACHLORIDE (PHOSPHORIC CHLORIDE ; PHOSPHORIC    PERCHLORIDE)

32. PHOSPHORUS TRICHLORIDE (PHOSPHORUS CHLORIDE)

33. PIPERIDINE (HEXAHYDROPYRIDINE)

34. SODIUM ARSENITE

35. SODIUM CHLORATE

36. SULFURIC ACID > 50 % w/w

37. SULFURIC ACID , FUMING (OLEUM) > 50 % w/w

38. SULPHUR HEXAFLUORIDE

39. TETRACHLOROETHANE (ACETYLENE TETRA CHLORIDE ; 1,1,2,2- TETRACHLOROETHANE)

40. TOLUENE > 75 % w/w

41. 1,1,1-TRICHLOROETHANE (METHYL CHLOROFORM)

42. 1,1,2-TRICHLOROETHANE (VINYL TRICHLORIDE ; beta-TRICHLOROETHANE)

43. VINYL CHLORIDE MONOMER (MONOCHLOROETHANE)

44. ของเสียเคมีวัตถุ (CHEMICAL WASTES) ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538

45. อาวุธเคมี ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย    พ.ศ. 2538

 


[ BACK