ศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี

ความเป็นมา

   อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี เป็นอนุสัญญาเกี่ยวกับการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และการทำลายอาวุธเคมีที่ได้ผลิตและมีอยู่
ในครอบครองก่อนหน้าการจัดทำอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงในการลดอาวุธทั่วโลก เมื่ออนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้แล้วจะห้ามการพัฒนา 
ผลิต เก็บ และใช้อาวุธเคมี และจัดให้มีการทำลายอาวุธเคมีที่เก็บไว้อยู่เดิมและสถานที่ที่มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบเวลาที่กำหนด
รวมทั้งประเทศภาคีอนุสัญญาจะต้องจัดทำคำประกาศและให้มีการตรวจสอบยืนยัน
(verification)  ตามความเป็นจริงที่รัฐภาคีแจ้ง
 และตามคำกล่าวหา  โดยสารเคมีจำนวนมากที่สามารถใช้ผลิตอาวุธเคมี และสามารถใช้ในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การแพทย์
 เภสัชกรรม การวิจัย หรือความมุ่งประสงค์อื่นในทางสันติ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะต้องมีการควบคุมให้ใช้เฉพาะวัตถุประสงค์ที่ไม่ได้ห้าม
ไว้ภายใต้อนุสัญญานี้เท่านั้น

วัตถุประสงค์

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี สำนักควบคุมวัตถุอันตราย
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานหลัก
ระดับชาติ
(National Authority : NA)

หน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี

  • จัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับข้อตกลง
  • ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ
  • จัดตั้งคณะทำงานระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้มี
    การปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณี
  • ติดตามและประเมินผลการดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินการผลการดำเนินการของประเทศไทยเสนอต่อองค์การระหว่างประเทศ
    และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สารเคมีในบัญชีรายการสารเคมีตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (รายละเอียดบัญชีรายการสารเคมี)

สารเคมีหรือกลุ่มสารเคมีในบัญชีรายการสารเคมีตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีแบ่งเป็น  3 รายการ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา
ออกตามลักษณะการพัฒนา ผลิต สะสม และใช้เป็นอาวุธเคมี   ภัยต่อวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ต่ออนุสัญญา และการใช้ในเชิงการค้า
โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาสารเคมีแต่ละรายการดังนี้

สารเคมีรายการ 1

  1. สารนั้นได้รับการพัฒนา ผลิต สะสม หรือใช้เป็นอาวุธเคมี 
  2. สารนั้นมีลักษณะเป็นภัยอย่างสูงต่อวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอนุสัญญาเนื่องจากมีศักยภาพสูงที่จะถูกนำไปใช้
    ในกิจกรรมที่ห้ามไว้ภายใต้อนุสัญญา
  3. สารนั้นใช้เพื่อความมุ่งประสงค์ที่ไม่ได้ห้ามไว้ภายใต้อนุสัญญานี้ได้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้เลย

สารเคมีรายการ 2

  1. สารนั้นมีลักษณะเป็นภัยอย่างมากต่อวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอนุสัญญานี้ เพราะสารนั้นมีความเป็นพิษที่ทำให้ถึงตายหรือ
    ไร้ความสามารถ ตลอดจนมีคุณสมบัติอื่นที่ทำให้สามารถนำไปใช้เป็นอาวุธเคมีได้ และสารนั้นมีความสำคัญในการผลิตสารเคมี ในรายการ 1 หรือรายการ 2 เอ
  2. สารนั้นอาจใช้เป็นสารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษในปฏิกิริยาใดในขั้นสุดท้ายของการก่อเกิดสารเคมีในรายการ 1 หรือรายการ 2 เอ
  3. สารนั้นไม่ได้ผลิตในปริมาณมากเชิงการค้าเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่ไม่ได้ห้ามไว้ภายใต้อนุสัญญา

สารเคมีรายการ 3

  1. สารนั้นได้มีการผลิต สะสม หรือใช้เป็นอาวุธเคมี
  2. สารนั้นมีลักษณะเป็นภัยต่อวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอนุสัญญา เพราะสารนั้นมีความเป็นพิษที่ทำให้ถึงตาย
    หรือไร้ความสามารถ ตลอดจนมีคุณสมบัติอื่นที่ทำให้สามารถนำไปใช้     เป็นอาวุธเคมีได้   และเป็นสารที่มีความสำคัญ
    ต่อการผลิตสารเคมีในรายการ 1 หรือ 2 บี
  3. สารนั้นอาจผลิตในปริมาณมากเชิงการค้าเพื่อความมุ่งประสงค์ที่ไม่ได้ห้ามไว้ภายใต้อนุสัญญานี้

สารเคมีทั้ง 3 รายการนั้นในแต่ละบัญชีรายการประกอบด้วยส่วน เอ  และส่วน  บี

ส่วน เอ  คือ สารเคมีพิษ  ( A. Toxic chemicals)

ส่วน บี  คือ  สารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษ  (B. Precursors)

สารเคมีพิษ (Toxic chemicals)
หมายถึง สารเคมีใดก็ตามที่ผลของปฏิกิริยาเคมีของสารนั้นต่อกระบวนการของสิ่งมีชีวิตก่อให้เกิดความตาย เกิดอาการไร้ความสามารถ
เป็นการชั่วคราว หรือเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์อย่างถาวร

สารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษ (Precursors)
หมายถึง ตัวทำปฏิกิริยาเคมีใดซึ่งมีส่วนในขั้นตอนใดในการผลิตสารเคมีพิษไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม  ตัวทำปฏิกิริยาเหล่านี้รวมถึง
องค์ประกอบหลักใดของระบบเคมีทั้งชนิดที่มีองค์ประกอบสองอย่างหรือมากกว่า  สารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษมีบทบาทสำคัญในการกำหนด
คุณสมบัติที่เป็นพิษของผลิตภัณฑ์สุดท้าย และยังเป็นตัวทำปฏิกิริยาอย่าง รวดเร็วกับสารเคมีอื่น ในระบบเคมีที่มี องค์ประกอบสองอย่าง
หรือมากกว่า


                      สารเคมีภายใต้อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง  หน้าถัดไป..     NEXT