สารเคมีภายใต้อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง |
อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
จะจำแนกสารเคมีโดยคำนึงถึงว่าสารเคมีนั้นเคยใช้เป็นอาวุธเคมี
หรืออาจใช้ผลิตสารเคมีพิษ A คือ สารเคมีมีพิษ เช่น สารทำลายประสาท และสารมัสตาร์ด B คือ สารเคมีที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษ ใน A สารเคมีรายการ
1
มีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ได้ห้ามไว้ภายใต้อนุสัญญานี้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ใช้เลย
สารเคมีรายการนี้
อาจมีการนำไปใช้ในกิจกรรม
ดังต่อไปนี้ สารเคมีรายการ 2 : ประกอบด้วยสารเคมี หรือกลุ่มสารเคมี จำนวน 14 ชนิด
A คือ สารเคมีมีพิษ B คือ สารเคมีที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษ ในสารเคมีรายการ 1 สารเคมีรายการ 2 ไม่ได้ผลิตในปริมาณมากเชิงการค้าเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ได้ห้ามไว้ภายใต้อนุสัญญานี้ สารเคมีรายการนี้ อาจมีการใช้ดังต่อไปนี้ - ยาฆ่าแมลง - การวิจัยสารหน่วงการติดไฟ - การเตรียมสารทางการแพทย์และเภสัชกรรม (เช่น สารต้านระบบประสาท พาราซินทิติค (anticholinergics) สารกลุ่มอาซินิค (arsenicals) การเตรียมสารกล่อมประสาท (tranquilliser preparations) การเตรียม สารลดความดัน (hypotensive agent preparations) - ยาฆ่าวัชพืช - ยาฆ่าเชื้อรา - ยาทำให้ใบไม้ร่วง - ยาฆ่าหนู - สารเติมแต่งผลิตภัณฑ์ทั่วไป (เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ สเตบิไลเซอร์สำหหรับสี สารเติมแต่งในน้ำมันหล่อลื่น สารต้านไฟฟ้าสถิตย์) - อุตสาหกรรมสีย้อมและภาพถ่าย (เช่น หมึกพิมพ์ หมึกปากกาลูกลื่น หมึกถ่ายเอกสาร สีทา สารชุบเคลือบ) - การเตรียมสารชุบเคลือบโลหะ - เครื่องใช้ในห้องน้ำ รวมทั้งน้ำหอมและเครื่องหอมต่าง ๆ - อิพอกซี่ เรซิ่น สารเคมีรายการ 3 : ประกอบด้วยสารเคมี จำนวน 17 ชนิดA คือ สารเคมีมีพิษ B คือ สารเคมีที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษ ในสารเคมีรายการ 1 หรือ 2
สารเคมีรายการ 3 อาจจะผลิตในปริมาณมากเชิงการค้า เพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ได้ห้ามไว้ภายใต้อนุสัญญานี้ สารเคมีเหล่านี้อาจมีการนำไปใช้ ดังต่อไปนี้ - การผลิตเรซิน หรือพลาสติก (เช่น โพลิคาร์บอเนต โพลิเอสเตอร์คาร์บอเนต โพลิยูริเทน โพลิเมทิลอะคริเลท โพลิซัลไฟด์) - ไอโซไซยาเนท - เครื่องใช้ในห้องน้ำ - เภสัชกรรม - ยาปราบศัตรูพืช - ยาปราบวัชพืช - ยาฆ่าแมลง - การผลิตสารเอมีน - การผลิตสารอะคริโลไนไตร์ล - การผลิตกรดไซยานิค - การผลิตสารไซยาโนเจน - สารละลายที่ใช้สำหรับสกัดทอง หรือโลหะมีค่าต่างๆ - การเตรียมการชุบเคลือบโลหะ - สารพ่น อบ รมควัน ดิน - สารออร์แกนิคฟอสไฟท์ (เช่น สเตบิไลเซอร์ สารต้านอนุมูลอิสระ สารหน่วงการติดไฟ สารหล่อลื่น พลาสติไซเซอร์ ) - สารอบยางให้แข็งตัว - แบตเตอรี่ - สารฟอกหนัง และเคลือบเงา - สารลดแรงตึงผิวของผงซักฟอก สารช่วยในการขุดเจาะ คัตติ้งออยล์ สบู่และเครื่องใช้ในห้องน้ำ - สารต้านการกัดกร่อน - สารช่วยในการผลิตซีเมนต์ สารเคมีอินทรีย์ที่แบ่งเป็นกลุ่มได้ ที่ไม่มีชื่อยู่ในรายการสารเคมี สารเคมีอินทรีย์ที่แบ่งเป็นกลุ่มได้ (Discrete Organic Chemicals : DOCs ) หมายถึงสารเคมีที่จัดอยู่ในกลุ่มของสารประกอบคาร์บอน ยกเว้น ที่เป็นออกไซด์ ซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนต ซึ่งบ่งชี้โดยชื่อ สูตรโครงสร้างและ เลขทะเบียน CAS ทั้งนี้ไม่รวมถึง วัตถุระเบิด สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและโพลิเมอร์ สาร DOCs แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ - PSF DOCs หมายถึง สาร DOCs ที่ประกอบด้วยอะตอมของ ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ หรือฟลูออรีน - Non PSF DOCs หมายถึง สาร DOCs ที่ไม่มีอะตอมของ ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ หรือฟลูออรีน ตัวอย่าง เช่น อะซิโตน เป็น Non PSF DOC คาร์บอนไดออกไซด์ และ แคลเซียม คาร์บอเนต ไม่ใช่ DOCs ฟลูออโรมีเทน เป็น PSF DOC |