มาตราต่างๆใน พ.ร.บ.วัตถุอันตราย

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม

เกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย  .. 2535  เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายที่มีหน่วยงานที่รับผิด ชอบ 6 หน่วยงาน
แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ตามวัตถุประสงค์ ของการนำ วัตถุอันตรายไปใช้ดังนี้
  1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม 

  2. กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการเกษตร ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  3. กรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 

  4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในบ้านเรือน หรือ  ทางสาธารณสุข 

  5. สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสี

  6. กรมธุรกิจพลังงาน  กระทรวงพลังงาน รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่เป็น ก๊าซปิโตรเลียม

*หมายเหตุ : มาตราต่างๆ รวมทั้งประกาศ กฎกระทรวงฯ คลิกดูได้ที่ หัวข้อด้านบน*


ลำดับความสำคัญของกฎหมาย

ลำดับความสำคัญของกฎหมาย ในประเทศไทย มีลำดับความสำคัญ ดังนี้

1) รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมาย ซึ่งมีศักดิ์สูงสุด
2) กฎหมายที่รัฐธรรมนูญ ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎร) เป็นผู้ออก
ประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด
ประกาศ พระบรมราชโองการ ให้ใช้บังคับดังเช่น พระราชบัญญัติ
ประกาศคณะปฏิวัติ
3) กฎหมาย ที่ฝ่ายบริหาร เป็นผู้ออก
พระราชกกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ประกาศ กระทรวง/กรม อาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.
4) กฎหมาย ที่องค์กรส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ออก
เทศบัญญัติ
ข้อบัญญัติจังหวัด
ข้อบังคับสุขาภิบาล
ประกาศต่าง ๆ ของท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540 ซึ่งให้สิทธิประชาชน ทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญหลายประการเช่น
สิทธิ ที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐ และชุมชน ในการบำรุงรักษา และการได้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลาย ทางชีวภาพ
การคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพ อยู่ได้อย่างปกติ และต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อม ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน (ม.56)
การดำเนินโครงการ หรือกิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผล กระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์กรอิสระ ที่ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อม และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อน
มีสิทธิฟ้อง หน่วยราชการ เพื่อให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติได้
มีสิทธิมีส่วนร่วม ในกระบวนการพิจารณา ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครอง อันมีผล หรืออาจมีผลกระทบ ต่อสิทธิ และเสรีภาพของตน (ม.60)

   กฎหมายที่เกี่ยวกับสารเคมี วัตถุมีพิษ วัตถุอันตรายที่สำคัญ

พ.ร.บ.การเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456
พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515 เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในการทำงาน
พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535  และกฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ.2535, ฉบับที่ 3 พ.ศ.2535, ประกาศกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ.2513, ฉบับที่ 4 พ.ศ.2514, 
ฉบับที่ 25 พ.ศ.2531
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ว่าด้วยการกำหนดลักษณะของรถบรรทุกวัตถุอันตรายและประเภทของใบขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตราย
พ.ร.บ.ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ.2535

    หมายเหตุ

        พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และประกาศกระทรวงฯ มีจำหน่ายที่ชั้น 1 ห้อง104 กองคลังฝ่ายบัญชีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในราคาเล่มละ 250 บาท

Top