หมวด
๔
หน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาต
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก
และมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มี
(๑) ที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ
เพื่อทำความสะอาดร่างกายขั้นต้นเมื่อสัมผัสกับวัตถุอันตราย
(๒)
เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามความจำเป็นและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
และต้องมีมาตรการสำหรับการดูแลรักษาเครื่องป้องกัน
อันตรายดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
(๓) เครื่องปฐมพยาบาลพร้อมทั้งคำแนะนำวิธีปฐมพยาบาลที่เหมาะสมกับประเภทของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ
(๔) เครื่องมือ
วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ
สำหรับป้องกัน ควบคุม
ระงับหรือบรรเทาอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นตามความจำเป็นและเหมาะสมกับประเภท
ของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ
และต้องมีมาตรการสำหรับการดูแลรักษาเครื่องมือ
วัสดุและอุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตราย
นอกจากต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วยังต้องจัดให้มีห้องผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดปฏิบัติงานและห้องอาบน้ำ
ทำความสะอาดร่างกายพร้อมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับคนงานตามความจำเป็นและเหมาะสม
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออกและมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายซึ่งทำการขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มี
(๑) ยานพาหนะที่เหมาะสมและปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตราย
ในกรณีที่ต้องบรรทุกวัตถุอันตรายรวมกับสิ่งอื่น
ต้องแยกวัตถุอันตรายไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก
โดยให้มีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันมิให้วัตถุอันตรายหกหรือรั่วไหล
ถ้าภาชนะบรรจุเกิดแตกหักหรือชำรุด
ในกรณีที่มีการติดตรึงภาชนะเก็บวัตถุอันตรายกับตัวยานพาหนะ
ถ้าเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องได้รับการตรวจสอบ
จากกรมการขนส่งทางบก
ถ้าเป็นเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยต้องได้รับการตรวจสอบจากกรมเจ้าท่า
(๒) สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายแสดงคุณสมบัติของวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งรวมทั้งคำว่า
วัตถุอันตราย เป็นอักษรสีแดงเห็นได้ชัดเจน
ติดไว้ข้างยานพาหนะทั้งสองข้าง
(๓) เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะและอุปกรณ์สำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการหกหรือรั่วไหล
ของวัตถุอันตราย
(๔)
เอกสารแสดงข้อมูลความปลอดภัยของวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่ง
เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในขณะที่ขนส่ง
ในกรณีที่มีการขนส่งวัตถุอันตรายเกินหนึ่งพันกิโลกรัมหรือหนึ่งพันลิตร
(๕) ผู้ขับขี่ยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่ง
โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับอันตรายจากวัตถุอันตราย
(๖) บริเวณที่จอดยานพาหนะเพื่อการขนส่งต้องกว้างขวางเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรของสาธารณชน
ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงขนาดของกิจการ
ลักษณะของภาชนะบรรจุ ปริมาณ
และวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งในกรณีที่มีการสูบถ่ายหรือแบ่งบรรจุวัตถุอันตราย
ในบริเวณที่จอด ยานพาหนะ
ต้องมีอุปกรณ์สูบถ่าย
ระบบการป้องกันอันตรายจากการหกหรือรั่วไหล
และระบบป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสม
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การขนส่งวัตถุอันตรายที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปสำหรับจำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค
(๑) จัดให้มีถังหรือบ่อพักสำหรับกักเก็บน้ำทิ้งจากการประกอบกิจการเพื่อรอการบำบัด
หรือจัดสร้างระบบบำบัดน้ำทิ้งที่มีประสิทธิภาพ
โดยสามารถบำบัดน้ำทิ้งให้มีลักษณะเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการระบายน้ำทิ้ง
ทั้งนี้
ต้องไม่ใช้วิธีทำให้เจือจาง
(๒) จัดให้มีระบบกำจัดอากาศเสียจากการประกอบกิจการที่มีประสิทธิภาพ
โดยสามารถทำให้อากาศที่ระบายออกมานั้นมีปริมาณของสาร
เจือปน
ไม่เกินกว่าค่าที่กำหนดตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกมาทั้งนี้
ต้องไม่ใช้วิธีทำให้เจือจาง
(๓) การทำลายภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายรวมทั่งเศษเหลือของวัตถุอันตรายต้องใช้วิธีการที่เหมาะสมกับวัตถุอันตราย
และห้ามมิให้มีการทำลาย
สิ่งเหล่านั้นในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคล
สัตว์ พืช ทรัพย์
หรือสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๒๑ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแก่บุคคล
สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตราย
มีหน้าที่จัดให้มีการศึกษา
ทดสอบหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดจากวัตถุอันตราย
เมื่อมีเหตุอันควร
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตรายดำเนินการตาม
วรรคหนึ่งเพิ่มเติมได้ตามควรแก่กรณี
BACK หมวด ๔ หน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาต | กลับหน้าประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม | หมวด ๕ การแก้ไข NEXT