การดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย


จะประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องทำอย่างไรบ้าง?

     เป็นคำถามที่ถามกันบ่อยๆ มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับวัตถุอันตราย เช่นการนำเข้าสินค้าประเภทที่เป็น เคมีภัณฑ์ หรือ
สารเคมี โดยไม่ได้ทำการศึกษาก่อนว่าสินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า จนกระทั่งสินค้าดังกล่าวมาถึงท่าเรือ หรือด่านศุลกากร แล้วนั่นแหละ ถึงได้รู้ว่าต้องมีการขออนุญาตจากหน่วยงานราชการ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะดำเนินการตามพิธีการศุลกากร นำสินค้าเหล่านั้นออกจากด่านศุลกากรได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าหรือเคมีภัณฑ์นั้นๆต้องขออนุญาต?

  ในเบื้องต้นท่านจะต้องทราบก่อนว่าสินค้านั้นนำมาใช้ในกิจการประเภทใด เช่นนำมาใช้ประโยชน์ในงานเกษตรกรรม เช่นเป็นปุ๋ย ยาฆ่าแมลง
ก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่นั่นคือ  กรมวิชาการเกษตรและกรมประมง หรือเป็นสินค้าที่นำมาใช้ในบ้านเรือน เช่นเป็นสินค้า อุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ถ้าเป็นสินค้า ที่นำมา ใช้เป็น  วัตถุดิบ หรือส่วนผสมในกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรม ก็จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานที่ดูแล ก็คือสำนัก ควบคุมวัตถุอันตราย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก เช่น กรมยุทธภัณฑ์กระทรวงกลาโหม กรมสรรพสามิต เป็นต้น

การตรวจสอบในเบื้องต้น

หากท่านไม่ทราบว่าจะเป็นสินค้าอันตรายหรือวัตถุอันตรายหรือไม่ ให้ท่านปฏิบัติดังนี้

  • ก่อนจะนำเข้าสินค้าดังกล่าวให้สอบถามทางผู้ผลิตเสียก่อน โดยขอรายละเอียดของตัวสินค้าเช่นเอกสารข้อมูลด้านความปลอดภัยหรือ MSDS.(Material Safety Data Sheet)
    นำมาตรวจสอบก่อนกับ พรบ.วัตถุอันตราย 2535 หรือตรวจสอบจากเว็บไซต
    http://www2.diw.go.th/haz/Searchlist.aspหากท่านตรวจสอบแล้วยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าข่ายหรือไม
    ่ให้ท่านทำหนังสือ ขอหารือเกี่ยวกับวัตถุอันตรายไปยังหน่วยงาน ที่อาจเกี่ยว ข้อง

  • การทำหนังสือขอหารือฯให้ท่านสำเนาเอกสารประกอบการพิจารณาจำนวน 2 ชุด( เอกสารแสดงส่วนผสมครบ 100 % และเอกสาร คู่มือความปลอดภัย หรือ Material Safety Data Sheet)

เมื่อท่านทราบแล้วว่าสินค้าดังกล่าว เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดแล้วให้ท่านดำเนินการสอบถามถึงวิธีการ ขั้นตอน การดำเนินการต่างๆจากพนัก งานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆต่อไป

วิธีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักควบคุมวัตถุอันตราย

     สำหรับผู้ประกอบการที่ตรวจสอบสินค้าแล้วทราบว่าเกี่ยวข้องกับงานในอุตสาหกรรม ท่านจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆดังนี้

วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 

  • ไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องยื่นแจ้งตามแบบฟอร์ม วอ./อก.6 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนไปดำเนินการตามพิธีการศุลกากร

  • สถานที่แจ้งทำได้ 2 แห่งคือ ที่สำนักควบคุมวัตถุอันตรายกรมโรงงานอุตสาหกรรม และอินเตอร์เน็ท http://www2.diw.go.th/haz/hazdiw/select_o.asp

  • จะต้องยื่นแจ้ง ตาม วอ./อก.7(http://www2.diw.go.th/haz/vook7/login.asp) ในกรณีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริง ของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๗
  • เอกสารที่ใช้ได้แก่ สำเนา B/L และ  INVIOCE  = 1 ชุด
  • เอกสารแบบแจ้งวอ./อก6  = 2 ชุด 

  • สำเนาหนังสือตอบข้อหารือวัตถุอันตรายพร้อมเอกสารแนบ(ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร) = 1 ชุด

วัตถุอันตรายชนิดที่ 2

  • จะต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

  • จะต้องแจ้งตามแบบฟอร์มใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2(หลังจากที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว)

  • ยื่นแจ้ง วอ./อก.6 ก่อนไปดำเนินการตามพิธีการศุลกากร

  • จะต้องมีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเป็นไปตาม พรบ.วัตถุอันตรายและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

  • จะต้องยื่นแจ้ง ตาม วอ./อก.7(http://www2.diw.go.th/haz/vook7/login.asp) ในกรณีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริง ของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๗
  • เอกสารที่ใช้ได้แก่ สำเนา B/L และ  INVIOCE  = 1 ชุด

  • เอกสารแบบแจ้งวอ./อก6  = 2 ชุด 
  • สำเนาทะเบียน(ถ้ามี) = 1 ชุด
  • สำเนาใบแจ้งดำเนินการฯชนิดที่ 2 = 1 ชุด

วัตถุอันตรายชนิดที่ 3

  • จะต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

  • จะต้องมีใบอนุญาต และได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนจึงจะนำเข้าได้

  • จะต้องมีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเป็นไปตาม พรบ.วัตถุอันตรายและประกาศกระทรวง

  • ยื่นแจ้ง วอ./อก.6 ก่อนไปดำเนินการตามพิธีการศุลกากร

  • จะต้องยื่นแจ้ง ตาม วอ./อก.7(http://www2.diw.go.th/haz/vook7/login.asp) ในกรณีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริง ของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๔๗
  • เอกสารที่ใช้ได้แก่ สำเนา B/L และ  INVIOCE  = 1 ชุด
  • เอกสารแบบแจ้งวอ./อก6  = 2 ชุด 

  • สำเนาทะเบียน(ถ้ามี) = 1 ชุด

  • สำเนาใบอนุญาตฯ = 1 ชุด

  • ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี และ 3 ปี และมีเงื่อนไขกำกับการอนุญาตในบางรายการ

รายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาต

1. การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
2. การขออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย
3. การขออนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย
4. การขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย
5. การขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย
6. การออกใบรับแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2